บทที่2

บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเรื่อง ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1.1 กล้วยนับว่าเป็นพืชที่ให้ประโยชน์แก่คนและสัตว์อย่างมากเรารับประทานผลกล้วยสุก ซึ่งให้คุณค่าสารอาหารคาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และวิตามิน นำผลกล้วยสุกและกล้วยดิบที่แก่จัด มาแปรรูปเพื่อ ให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เช่น กล้วยกวน กล้วยเชื่อม   กล้วยฉาบ ฯลฯ ใบกล้วยนำมาใช้ห่อขนม เย็บเป็นถาด ใส่อาหาร ใช้ทำบายศรี ฯลฯ ส่วนก้านใบกล้วยนำมาเป็น อาหารสัตว์ ทำเชือก ฯลฯ จะเห็นได้ว่าทุกส่วนของกล้วยให้ประโยชน์มากมาย
1.2การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการสัมพันธุ์ขั้นตอนและกระบวนการผลิตรายการกระบวนการผลิตรายการวีดีทัศน์จำเป็นต้องใช้ทีมงาน อุปกรณ์และงบประมาณ รวมทั้งรูปแบบหรือเทคนิคการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม เราสามารถแบ่งขั้นตอนการผลิตรายการออกเป็นขั้นตอนใหญ่ได้ดังนี้
1.ขั้นก่อนการผลิต (Preproduction)นับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก่อนเริ่มทำการผลิตรายการได้แก่ การเตรียมข้อมูล การกำหนดหรือเค้าโครงเรื่อง การประสานงานกองถ่ายกับสถานที่ถ่ายทำประชุมวางแผนการผลิต การเขียนสคริปต์ การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การถ่ายทำอุปกรณ์การบันทึกเสียง ห้องบันทึกเสียง ห้องตัดต่อ สติวีดิโอถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก อุปกรณ์แสง การเตรียมตัวผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ ทีมงานทุกฝ่ายการเดินทาง อาหาร ที่พัก ฯลฯ หากจัดเตรียมรายละเอียดในขั้นตอนนี้ได้ดี ก็จะส่งผลให้ขั้นตอนการผลิตทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2.ขั้นตอนการผลิต (Production)เป็นขั้นตอนการดำเนินการถ่ายทำ ตามท้องเรื่องหรือตามสคริปต์ทีมงานผู้ผลิตได้แก่ ผู้กำกับรายการ ช่างภาพ ช่างไฟ ช่างเทคนิคเสียง ช่างศิลป์ และทีมงานจะทำการบันทึกเทปโทรทัศน์รวมทั้งการบันทึกเสียงตามที่กำหนดไว้ในสคริปต์ อาจมีการเดินทางไปถ่ายทำยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในร่มและกลางแจ้ง มีการสัมภาษณ์ จัดฉากจัดสถานที่ภายนอกหรือในสติวีดีขั้นตอนนี้อาจมีการถ่ายทำแก้ไขหลายครั้งจนเป็นที่พอใจ (take)นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องเก็บภาพ/เสียงบรรยากาศทั่วไป ภาพเฉพาะมุมเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการขยายความ (insert) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นและเข้าใจรายละเอียดมากยิ่งขึ้น
3.ขั้นตอนหลังการผลิต(Post Production) เป็นขั้นตอนการตัดต่อเรียบเรียงภาพและเสียงเข้าไว้ด้วยกันตามสคริปต์หรือเนื้อหาของเรื่อง ขั้นตอนนี้จะมีการใส่กราฟิกทำเทคนิคพิเศษภาพ การเชื่อมต่อภาพ/ฉาก อาจมีการบันทึกเสียงในห้องบันทึกเสียงเพิ่มเติมอีกก็ได้ อาจมีการนำดนตรีมาประกอบเรื่องราวเพื่อเพิ่มอรรธรสในการรับชมยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะดำเนินการอยู่ในห้องตัดต่อ มีเฉพาะช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องและผู้กำกับเท่านั้น
4.ขั้นการเผยแพร่รายการ(Distribution) การที่จะเผยแพร่วีดีทัศน์ต่อผู้ชมรายการเป้าหมายนั้น ยังต้องมีการประเมินผลรายการเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ ทั้งภาพและเสียงให้มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้ผลิตรายการส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าที่ควรก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ แต่นับว่าขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากเช่นกันแต่การประเมินผลการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ นั้น เจ้าของรายการเจ้าของธุรกิจหรือบริการ จะเป็นผู้ประเมินจากรายได้หรือจำนวนผู้ชมซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดภายหลังจากการออกอากาศแล้ว(Rating)ในการเผยแพร่รายการวีดีทัศน์ให้กับผู้ชมรายการกลุ่มเป้าหมายนั้น เราสามารถเผยแพร่ได้หลากหลายวิธี เช่น การนำไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์(Broadcasting)การจัดทำเป็นแผ่นVCD, DVDหรือเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่ในระบบวงจรปิดCCTV(Close Circuit television)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น